ข่าวสารรอบโลก

เรือหลวงเอชเอ็มเอสริชมอนด์ (HMS Richmond) แล่นผ่านน่านน้ำไทยอันดามัน นับเป็นการเยือนของกองทัพเรือสหราชอาณาจักรครั้งที่สองในรอบเกือบทศวรรษ

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ได้ให้การต้อนรับเรือหลวงเอชเอ็มเอสริชมอนด์ (HMS Richmond) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเรือรบอังกฤษ ที่มาเยือนเพื่อฝึกซ้อมทางการทหารร่วมกับกองทัพเรือไทย

เผยแพร่ภายใต้ 2019 to 2022 Johnson Conservative government

การเดินทางระดับโลกพร้อมมุ่งให้ความสำคัญกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2564 เรือหลวงควีนอลิซาเบธ (HMS Queen Elizabeth) ประดับธงราชนาวีแห่งสหราชอาณาจักร เดินทางออกจากฐานทัพเรือ Portsmouth เป็นครั้งแรกของการออกปฏิบัติการซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นในการเดินทางระดับโลกของกองเรือรบหลวงอังกฤษที่เรียกว่า British Carrier Strike Group (CSG) โดยแท้จริง การปฏิบัติการที่นำโดยเรือหลวง HMS Queen Elizabeth ซึ่งเป็นเรือรบขนาดใหญ่ และทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา สำหรับกองทัพเรืออังกฤษได้แล่นเรือเป็นระยะทาง 26,000 ไมล์ทะเล จากมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเข้าสู่ภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ซึ่งได้เดินทางไปเยือนกว่า 40 ประเทศ

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ได้ให้การต้อนรับเรือหลวงเอชเอ็มเอสริชมอนด์ (HMS Richmond) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเรือรบอังกฤษ ที่มาเยือนเพื่อฝึกซ้อมทางการทหารร่วมกับกองทัพเรือไทย ท่ามกลางภารกิจต่างๆนั้น การมาเยือนประเทศไทยได้แสดงถึงการให้ความสำคัญกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระชับความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทยความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนกับสหราชอาณาจักรมีความแข็งแกร่งมากขึ้น จากการลงนามในการเจรจาการค้าร่วมกันในคณะกรรมการร่วมเศรษฐกิจและการค้า หรือที่เรียกว่า The Joint Economic and Trade Committee (JETCO) เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา การมาเยือนของเรือหลวง HMS Richmond นั้น ไม่เพียงแต่เสริมสร้างรากฐานความสัมพันธ์ทางการค้าระดับทวิภาคีที่แน่นแฟ้นต่อประเทศไทยมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงพันธกิจด้านทะเลร่วมกันระหว่างสองประเทศ

ศูนย์รวมความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีทางทะเล

เรือหลวง HMS Richmond นำเสนอระบบที่ล้ำสมัยและมีความสามารถในการปฏิบัติงานของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของอังกฤษ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพลัง ความสามารถที่หลากหลายของเรือรบประเภท frigate ที่สามารถปฏิบัติการได้ทุกที่ในโลกนี้

ความคล้ายคลึงของประวัติศาสตร์การเดินเรือที่ยาวนานและความสำเร็จของสหราชอาณาจักร สามารถสังเกตได้จากทุกองค์ประกอบบนเรือหลวงริชมอนด์ ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ต่อต้านเรือดำน้ำที่ล้ำสมัย (VDS Sonar 2087 ที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ Captas-4) และชุดระบบสื่อสารทางเรือที่สมบูรณ์แบบโดยบริษัท ทาเลส (Thales) ซึ่งโซนาร์ 2087 ของทาเลสนั้น เป็นการผสมผสานการทำงานที่มีเอกลักษณ์ของระบบโซนาร์แบบแอคทีฟ (Active) และแบบพาสซีฟ (Passive) โดยใช้คลื่นความถี่ต่ำ ที่ทำให้กองทัพเรือมีข้อได้เปรียบที่ไม่เหมือนใคร ในการตรวจจับภัยคุกคามใต้น้ำในระยะไกล ในขณะที่ยังคงความสามารถในการพรางตัว เมื่อใช้ร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ AW159 ที่ติดอุปกรณ์โซนาร์แบบ FLASH dipping sonar และ ขีปนาวุธนำวิถีน้ำหนักเบาที่เรียกว่า Lightweight Multirole Missiles (LMM) จึงทำให้ระบบมีประสิทธิภาพ ในการจำแนกประเภทการตรวจจับ ค้นหาตำแหน่ง การติดตาม และการโจมตีของเรือดำน้ำที่เป็นฝ่ายตรงข้าม และการป้องกันขีปนาวุธ จากภัยคุกคามทางอากาศและทางทะเล

ระบบการจัดการการต่อสู้ INTeACT บนเรือ จัดทำโดย บริษัท บีเออี ซิสเต็มซ์ (BAE Systems) เพื่อสนับสนุนลูกเรือของเรือรบ ด้วยข้อมูลทั้งหมดตามที่พวกเขาต้องการในการติดตาม วิเคราะห์ และตอบสนองต่อภัยคุกคามในการต่อสู้ ตลอดจนความสามารถในการประสานงานทางด้านทรัพยากร ในการปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น การรวบรวมข่าวกรองและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ทั้งโดยอิสระหรือเป็นส่วนหนึ่ง ของความร่วมมือระหว่างประเทศ นอกจากนี้เรด้าร์ตรวจตรา Artisan 3D ของบริษัท บีเออี ซิสเต็มซ์ ยังสามารถตรวจจับวัตถุที่มีขนาดเล็กเท่ากับลูกเทนนิส ที่เคลื่อนที่เร็วกว่าความเร็วเสียงถึงสามเท่า ซึ่งอยู่ห่างออกไปมากกว่า 25 กิโลเมตรได้ด้วย และเรด้าร์ตรวจตรา Artisan 3D สามารถตรวจสอบวัตถุมากกว่า 900 รายการพร้อมกันได้ตั้งแต่ 200 ถึง 200,000 เมตร และตัดผ่านสัญญาณรบกวนวิทยุได้เท่ากับ 10,000 สัญญาณโทรศัพท์มือถือ

ในส่วนของระบบขับเคลื่อนไฮบริดของเรือหลวงริชมอนด์ขับเคลื่อนโดยกังหันก๊าซทางทะเล ของบริษัท โรลส์-รอยซ์ (Rolls-Royce) ที่เรียกว่า Spey SM1C จำนวนสองเครื่อง และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล MTU 12V 4000 M53 สี่เครื่อง ในระบบขับเคลื่อน CODAG (Combined Diesel Electric & Gas) รวมไปถึงเฮลิคอปเตอร์ โจมตีทางทะเลบนเรือรบ ซึ่งเป็นเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์รุ่นล่าสุดที่ใช้ขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์ LHTEC CTS800 ของ บริษัท โรลส์-รอยซ์ จำนวนสองเครื่องอีกด้วย

เฮลิคอปเตอร์ AW-159 Wildcat บนเรือหลวงนั้น เป็นเฮลิคอปเตอร์ต่อสู้โจมตี ระดับไฮเอนด์รุ่นล่าสุดที่มีความสามารถทางยุทธวิธีที่เหนือชั้น ในด้านยานพาหนะทางอากาศที่มีขนาดกะทัดรัดและทนทาน ผลิตโดยบริษัท ลีโอนาร์โด (Leonardo UK) เฮลิคอปเตอร์ได้รับการออกแบบจากแนวคิดให้เป็นเฮลิคอปเตอร์กองทัพเรือ แบบหลายบทบาท พร้อมลักษณะการเชื่อมต่อระหว่างเรือกับอากาศที่ยอดเยี่ยม และขนาดที่กะทัดรัด สำหรับการปฏิบัติการบนดาดฟ้าขนาดเล็ก ในแพลตฟอร์มของเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง มีระบบการบินและภารกิจที่ล้ำสมัย เพื่อการรับรู้ถึงสถานการณ์ของลูกเรือได้อย่างดีเยี่ยม รวมไปถึงชุดมาตรการป้องกันตนเองที่สมบูรณ์นั้น ช่วยอำนวยความสะดวก ในการประเมินยุทธวิธีอย่างรวดเร็วในรูปแบบของการปฏิบัติการต่างๆ

ประวัติศาสตร์อันยาวนานของประสบการณ์ด้านวิศวกรรมกองทัพเรือในประเทศไทย

เป็นเวลาอย่างน้อยครึ่งศตวรรษ ที่เทคโนโลยีกองทัพเรืออังกฤษ ได้ให้การสนับสนุนกองเรือของกองทัพเรือไทย

“ความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัท ทาเลส (Thales) กับกองทัพไทยมีมายาวนานกว่า 50 ปี และในวันนี้เราภูมิใจที่จะกล่าวว่าระบบและโซลูชั่นของเรากว่า 80% นั้นได้มีโอกาสรับใช้กองเรือของกองทัพเรือไทย เมื่อสองปีที่ผ่านมา เราประสบความสำเร็จในการปรับปรุงเรือหลวงบางระจันที่ใช้ล่าทุ่นระเบิด ให้มีความทันสมัยอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งช่วยปรับปรุงและยืดอายุการใช้งานของความสามารถ ในการปฏิบัติงาน ด้วยโซลูชั่นที่มาจากบริษัท ทาเลส แห่งสหราชอาณาจักร (Thales UK) ความกว้างของเทคโนโลยีของเราที่แสดงบนเรือหลวงริชมอนด์ นั้นเป็นเครื่องพิสูจน์ได้อย่างชัดเจน ถึงความแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพของบริษัท ทาเลส ในอาณาเขตกองทัพเรือ และผมคาดหวังในทางที่ดีว่าระบบและโซลูชันเหล่านี้ จะสามารถนำไปใช้ได้เช่นเดียวกันกับความสำเร็จที่มีอย่างท่วมท้นกับกองเรือของกองทัพเรือไทย” กล่าวโดย มัสสิโม มารินซิ (Mr. Massimo Marinzi) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทาเลส ประเทศไทย

บริษัท โรลส์-รอยซ์ (Rolls-Royce) เติบโตในประเทศไทย และทั่วทั้งอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ เมื่อมองถึงอนาคตบริษัท โรลส์-รอยซ์ในประเทศไทย จะยังคงทำงานอย่างใกล้ชิดกับกองทัพไทย ผู้ค้าซัพพลายเชน รวมไปถึงอุตสาหกรรมและชุมชนในท้องถิ่นเพื่อให้อำนาจในการปกป้อง ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่และให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง สำหรับฝูงบินของลูกค้านั้น โรลส์-รอยซ์ยังคงส่งมอบโซลูชั่นที่สะอาดที่สุด ปลอดภัยที่สุด และแข่งขันได้มากที่สุดสำหรับความต้องการด้านพลังงานที่สำคัญของโลก

บริษัท บีเออี ซิสเต็มซ์ (BAE Systems) มีความภาคภูมิใจที่ได้สนับสนุนความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศที่เข้มแข็งระหว่าง สหราชอาณาจักร และ ประเทศไทย สิ่งนี้แสดงให้เห็นจากการที่กองทัพเรือไทยใช้งานแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ขนาด 90 เมตร (OPVs) ของบริษัท บีเออี ซิสเต็มซ์ จำนวนสองลำ โดยแบบดังกล่าว อ้างอิงมาจากแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งประเภทแม่น้ำที่กองทัพเรือสหราชอาณาจักรใช้ดำเนินงานอยู่ในปัจจุบัน การสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (OPVs) ของกองทัพเรือไทย ในประเทศไทยโดยบริษัท อู่กรุงเทพ มีส่วนสำคัญต่อการเติบโตของทักษะ และความสามารถด้านวิศวกรรมทางเรือในท้องถิ่น และในทางกลับกัน ก็ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของไทยและเศรษฐกิจของไทยในวงกว้างอีกด้วย

บริษัท ลีโอนาร์โด แห่งสหราชอาณาจักร (Leonardo in UK) มีความยินดีที่จะสนับสนุน เฮลิคอปเตอร์ Super Lynx 300 ของกองทัพเรือไทยต่อไป เฮลิคอปเตอร์ AW 159 เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดของ Super Lynx 300 ซึ่งมีทั้งความสามารถทางด้านต่อต้านเรือดำน้ำ และต่อต้านพื้นผิว บริษัท ลีโอนาร์โด แห่งสหราชอาณาจักรมีความมุ่งมั่น ที่จะพัฒนาความสัมพันธ์อันดีกับกองทัพเรือไทย และกองทัพไทยอีกต่อไป

ประวัติศาสตร์อันยาวนานของวิศวกรรมกองทัพเรืออังกฤษ นั้นแข็งแกร่งอย่างเห็นได้ชัดจากการแสดงการต้อนรับต่อความสัมพันธ์อันดีของกองเรือรบ (Carrier Strike Group) ที่มาเยือนประเทศไทย อันเป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นของเราในการเปิดเอเชียแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง พร้อมผลประโยชน์ทั้งหมดที่เอื้อต่อกัน ด้านความมั่นคงปลอดภัยและความมั่งคั่งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

พันเอกโทนี่ สเติร์น ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ประจำสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ ในประเทศไทย กล่าวว่า

การฝึกร่วมที่ประสบความสำเร็จล่าสุดของเรือหลวงริชมอนด์ และเรือหลวงกระบุรีนั้น เน้นให้เห็นถึงความสำคัญและความแข็งแกร่งของความสัมพันธ์ด้านการป้องกันและความมั่นคงที่มีมายาวนานของสหราชอาณาจักรกับประเทศไทย กองเรือรบ UK Carrier Strike Group แสดงให้เห็นถึงความสามารถระดับโลกของอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของสหราชอาณาจักร และ สหราชอาณาจักรจะยังคงสนับสนุนให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิด และแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นกับประเทศไทย และประเทศในกลุ่มอาเซียนอื่นๆ ในด้านการป้องกันและความมั่นคง

เกี่ยวกับหน่วยงานราชการด้านการส่งออกอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศและความมั่นคงของสหราชอาณาจักร: หน่วยงานราชการด้านการส่งออกอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศและความมั่นคงของสหราชอาณาจักรเป็นส่วนหนึ่งของกรมการค้าระหว่างประเทศ เรามีหน้าที่รับผิดชอบ:

  • ช่วยอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศและความมั่นคงของสหราชอาณาจักรในการส่งออกความสามารถของตน โดยเสนอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญและข้อมูลทางการตลาด
  • รักษาความสัมพันธ์กับรัฐบาลต่างประเทศเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ด้านการป้องกันและความมั่นคงของอังกฤษ
  • ทำงานร่วมกับกระทรวงกลาโหมและภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ด้านการป้องกันและความมั่นคงมีศักยภาพในการส่งออกและมีส่วนสนับสนุนวาระความมั่งคั่งของสหราชอาณาจักร

Updates to this page

เผยแพร่เมื่อ 29 กรกฎาคม 2021