บทความที่มีผู้เขียน

ความร่วมมือฟินเทคสหราชอาณาจักร-ไทย

สัปดาห์ที่แล้วกรุงลอนดอนเป็นเจ้าภาพต้อนรับคณะผู้แทนจากหน่วยงานด้าน Fintech ชั้นนำของประเทศไทยและเวียดนาม ในระหว่างการเดินทาง คณะผู้แทนได้เยี่ยมชมธุรกิจ Fintech ชั้นนำระดับโลกหลายแห่ง รวมถึงหน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ ที่ล้ำสมัย และธนาคารกลางแห่งประเทศอังกฤษซึ่งมีอายุ 325 ปี

เผยแพร่ภายใต้ 2016 to 2019 May Conservative government
Fintech partnership

บทความโดยนายมาร์ค ฟิลด์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ ฝ่ายกิจการเอเชียและแปซิฟิก

สัปดาห์ที่แล้วกรุงลอนดอนเป็นเจ้าภาพต้อนรับคณะผู้แทนจากหน่วยงานด้าน Fintech ชั้นนำของประเทศไทยและเวียดนาม ในระหว่างการเดินทาง คณะผู้แทนได้เยี่ยมชมธุรกิจ Fintech ชั้นนำระดับโลกหลายแห่ง รวมถึงหน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ ที่ล้ำสมัย และธนาคารกลางแห่งประเทศอังกฤษ ซึ่งมีอายุ 325 ปี การไปเยี่ยมชมดังกล่าวเป็นกิจกรรมล่าสุด ซึ่งแสดงการทำงานร่วมกัน และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาด้าน Fintech ระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับสหราชอาณาจักร

London played host to leading members of Thailand’s Fintech community

London played host to leading members of Thailand’s Fintech community

“Fintech” หรือ “เทคโนโลยีทางการเงิน” หมายถึง นวัตกรรมการใช้เทคโนโลยีในการออกแบบและการให้บริการทางการเงินต่างๆ การใช้เทคโนโลยีเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้การปฏิวัติอุตสาหรรมครั้งที่ 4 โดยเพียง 6 เดือนแรกของปี พ.ศ.2561 สหราชอาณาจักรสามารถดึงดูดการลงทุนใน Fintech ได้สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 12 พันล้านปอนด์

ประเทศไทยและเวียดนามได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพและแนวโน้มการเติบโตด้าน Fintech สูง จากรายงานของ Deloitte และ Robocash เมื่อสิ้นปีที่แล้ว สรุปว่าชาติอาเซียนต่างๆ เป็นแหล่งสำคัญที่สุดสำหรับโอกาสในการพัฒนาด้าน Fintech อันเนื่องมาจากความสนใจ และการใช้เทคโนโลยีของประชากรและรัฐบาลอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ซึ่ง 82 % ของจำนวนประชากรเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และ 60 %ใช้บริการธนาคารออนไลน์ ในขณะที่อัตราการเติบโตของการค้าขายออนไลน์ (e-commerce) ในเวียดนามได้เพิ่มขึ้น 87% ในช่วงปีพ.ศ. 2558-2561 นอกจากนั้นหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินต่างๆ ของประเทศไทยและเวียดนามมีวิสัยทัศน์ที่ทันสมัยและตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยี

ด้วยเหตุนี้สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางทางการเงินอันดับต้นๆของโลก จึงมีความตั้งใจในการสร้างความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือในการทำงานด้าน Fintech ที่ยั่งยืนกับประเทศไทย

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สหราชอาณาจักรเป็นศูนย์กลางทางการเงินระดับโลก ได้แก่ บุคลากรที่มีความสามารถ ความพร้อมด้านเงินทุน และนโยบายของรัฐบาลที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างนวัตกรรม ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้กรุงลอนดอนได้รับการขนานนามบ่อยครั้งว่าเป็นศูนย์กลาง Fintech ของโลก และเพื่อรักษาสถานะดังกล่าว สหราชอาณาจักรจำเป็นต้องมีการพัฒนานโยบายอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้อง และทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม

หากนโยบายด้านนวัตกรรมของรัฐบาลเป็นเสาหลักหนึ่งของยุทธศาสตร์ที่ทำให้สหราชอาณาจักรประสบความสำเร็จในด้าน Fintech ความร่วมมือที่แน่นแฟ้นระหว่างประเทศก็นับว่าเป็นอีกเสาหลักหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน ภายหลังออกจากสมาชิกสหภาพยุโรป สหราชอาณาจักรจะทำงานหนักมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อสร้างพันธมิตรด้าน Fintech เราได้นำ Fintech มาเป็นหัวใจสำคัญของโครงการส่งเสริมการปฏิรูปเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะมุ่งเน้นที่ประเทศไทยและมุ่งส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง โครงการดังกล่าวมีระยะเวลาสามปี โดยสหราชอาณาจักรจะให้การช่วยเหลือทางวิชาการ และสร้างโอกาสในการแบ่งปันประสบการณ์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของนโยบายส่งเสริมนวัตกรรมด้าน Fintech ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆในอาเซียน

ช่วงใกล้สิ้นสุดการเยี่ยมชมงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผู้แทนจากประเทศไทยได้ร่วมแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับช่วงเวลาที่อยู่ในสหราชอาณาจักร ผู้แทนท่านหนึ่งกล่าวถึงธนาคารกลางแห่งประเทศอังกฤษและหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินต่างๆ ของสหราชอาณาจักรว่า “การทำงานมีความคล่องตัว โดยมีระบบขั้นตอนทางราชการที่น้อยมาก ….. ลักษณะการทำงานดูเหมือนเป็นวิธีการทำงานในแบบธุรกิจสตาร์ทอัพ” ในระหว่างการประชุม คณะผู้แทนของสหราชอาณาจักรต่างประทับใจกับตลาด Fintech ที่มีศักยภาพในการพัฒนาสูงของประเทศไทยและเวียดนาม และการเปิดกว้างของหน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ ผมรอคอยเช่นเดียวกับหลายๆท่านที่จะเห็นผลสำเร็จจากทิศทางของความสัมพันธ์ที่กำลังเติบโตนี้

Updates to this page

เผยแพร่เมื่อ 18 มีนาคม 2019